วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ

                                                  วัณโรค ( Tuberculosis ) 
                                                                         จ.ส.อ.วรากร นิติศักดิ์  ผู้เขียน
      ผู้เขียนเคยได้ไปรับการอบรมวิชาการที่กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด สระบุรี เมื่อประมาณปี 44 โดยมีอาจารย์นายแพทย์  มงคล อังคศรีทองกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่  2 จังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้ครับ กระผมได้นำประโยชน์ในการอบรมในครั้งนี้ได้นำมาพัฒนาในการทำงานจนถึงปัจจุบัน กระผมจึงนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้ฟัง อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างกับบุคลากรทางการแพทย์ รพ.รร.จปร.นะครับ

             เชื้อวัณโรค ( Mycobacterium  tuberculosis )
      Robert Koch เป็นคนแรกที่พิสูจน์และแยกเชื้อวัณโรค เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1882  รูปร่างเป็นแท่ง ( Rod shape )  ไม่มี( Capsule )ไม่มี ( spore ) เชื้อไม่มีการเคลื่อนที่ เป็นเชื้อที่ต้องการ ออกซิเจนในการเจริญเติบโต 
        
            การแพร่กระจายและการเกิดโรค

      สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง และทางเดินอาหาร แต่ทางเดินหายใจเป็นทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญที่สุด เมื่อผู้ป่วย ไอ จาม เชื้อจะออกมากับละออง เสมหะหรือน้ำลายนั้น และทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ส่วนในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง  6  เดือน วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่ดเรื้อรังทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่ที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่บริเวณอื่นร่วมด้วย  เช่น  ต่อมน้ำเหลือง  เยื่อหุ้มสมอง  กระดูก
  
            อาการของวัณโรค

          ผู้ติดเชื้อวัณโรคปอดมักจะค่อย ๆ  ป่วยด้วยอาการของวัณโรคปอดดังต่อไปนี้
    * มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  และมีน้ำหนักลด
    * อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว  หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ  ตอนบ่าย   มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
    * มีอาการไอ  โดยระยะแรก ๆ  ไอแห้ง ๆ  มีเสมหะ  หรือไอเป็นแรมปี
    * ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ
    * ในรายที่เป็นมาก  อาจจะมีอาการหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ  หรือดำ ๆ
    * ในรายที่เป็นน้อย ๆ  อาจไม่มีอาการ  และมักตรวจพบโดยเห็นจุดในปอดบนภาพถ่ายเอกซเรย์
    * ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน  โดยไม่รู้สาเหตุ
    * ในกรณีที่เกิดในเด็ก  อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่  เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ
     
             การเก็บเสมหะ
 
        - สถานที่เก็บ ควรเป็นที่โล่งแจ้งมีแสงแดดส่องถึงถ้าเก็บภานในอาคารต้องมีอากาศที่ถ่ายเท ไม่อับ
        - ตลับที่ใช้เก็บ ควรเป็นพลาสติกมีปากกว้าง มีฝาเกลียวปิดให้สนิท
        - ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาแล้วให้ผู้ป่วย ไอ ขาก ก่อนทำธุระอื่น
        - ลักษณะเสมหะควรเป็นเมือก เป็นยวง ขุ่นข้น มีสีปนเหลืองหรือปนเขียว ไม่ใช้น้ำลาย
 
            การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
        - ป้ายเสมหะที่เป็นเนื้อเสมหะลงบนแผ่นสไลด์ กระจายให้กว้าง
        - ตากแห้ง แล้วนำไป Fix ด้วยไฟ
        - แล้วนำไปย้อมด้วยวิธี Kinyoun staining
        - เมื่อย้อมสีเสร็จแล้ว ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
   
             การรายงานผล
     
จำนวนที่เห็น                            การรายงาน           จำนวน fields ที่ดู
0 bacilli/100 oil fields                No AFB seen                 200
1-9 bacilli/100 oil fields      1-9 AFB per 100 fields          100
10-99 bacilli /100 fields                AFB 1+                     100
1-9 bacilli / oil fields                    AFB 2+                       50
>100 bacilli / oil fields                 AFB 3+                       20

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น