วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พฤติกรรมบริการ

พฤติกรรมบริการ (Service behavior)
By Lt.Col.Jakkrit mora
            เมื่อวันอังคารที่ 28 เมษายน 2552 ผมได้ไปเข้ารับการอบรมเรื่อง "บริการอย่างไรให้ได้ใจลูกค้า" รุ่นที่ 2 ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรมศาลายาพาวิลเลี่ยน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล จ.นครปฐม   ผู้เข้ารับการอบรมมาจากทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ โรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน  วัตถุประสงค์ ก็คือ เป็นตัวแทน (ส่งไป 2 คน) ไปนำความรู้ มาปรับปรุงพฤติกรรมบริการ ผมแค่ได้ยินชื่อหลักสูตรก็สนใจแล้ว หน่วยงานที่จัดก็ระดับอินเตอร์ และที่สำคัญ ผมคิดว่า บุคคลากรทางการแพทย์ เราเรียนเน้นมาทางด้านวิทยาศาสตร์ ทำให้ด้านสังคมศาสตร์หรืองานต้อนรับบริการ เรายังรู้ไม่มาก อาจจะด้อยกว่าสายศิลป์-ภาษาศาสตร์ การจัดการ การโรงแรมไปบ้าง ผมก็เลยสมัครเข้ารับการอบรมครับ อยากรู้หรือยังครับว่า เขาอบรมเรื่องอะไรกันบ้าง???

แนะนำวิทยากร 
           อ.เนตรา  เทวบัญชาชัย หัวหน้าหลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม รักษาการ ผจก.ทั่วไป โรงแรมศาลายาพาวิลเลี่ยน วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ท่านมีประสบการณ์มาก (แต่อายุยังไม่มากนะครับ) เคยเป็นแอร์โฮสเตส  หลายสายการบิน พูดได้หลายภาษา พูดเก่ง สอนสนุก ไม่มีง่วงครับ

SERVICE  (การบริการ)   
  S = Smile/Sympathy                 รอยยิ้มที่จริงใจ เห็นอกเห็นใจ
  E = Early response                   ตอบสนองผู้มารับบริการด้วยความรวดเร็ว ทันใจ
  R = Respectful                         ให้เกียรติ ให้ความเคารพ
  V = Voluntariness manner        ให้บริการอย่างเต็มใจ
  I  = Image enhancing                สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ตนเองและองค์กร
 C  = Courtesy                           มีความสุภาพ อ่อนน้อม มีมารยาท
 E  = Enthusiasm                        มีความกระตือรือร้นในการให้บริการเสมอ

การบริการ หมายถีง การปฏิบัติรับใช้ การให้ความสะดวกต่างๆ การกระทำที่เปี่ยมไปด้วยความช่วยเหลือหรือการดำเนินการที่เป็นประโชน์ต่อผู้อื่น (พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530)

ประเภทของการให้บริการ
1. เห็นหน้าและไม่เห็นหน้า
          1.1 บริการแบบเห็นหน้า ต้องใช้ทักษะการพูด น้ำเสียง ท่าทาง สีหน้าและสายตา
          1.2 บริการแบบไม่เห็นหน้า ใช้ทักษะการพูด น้ำเสียง การเขียน 
2. มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องเงิน
          2.1 มีเงินมาเกี่ยวข้อง ต้องระลึกเสมอว่า รวย จน ต้องปฏิบัติต่อเขา อย่างเท่าเทียม
          2.2 ไม่มีเงินมาเกี่ยวข้อง ต้องไม่วางอำนาจเหนือลูกค้า อย่าบริการแบบ แค่ให้ผ่านๆ พ้นๆไป

คาถาในการบริการที่เป็นเลิศ " 2 ไม่, 1 เอา "

  • ไม่วางอำนาจเหนือลูกค้า
  • ไม่แบ่งชั้นวรรณะลูกค้า
  • เอาใจลูกค้ามาใส่ใจเราบ้าง
กุญแจแห่งความสำเร็จในงานบริการ
"การมีกาย(การวางตน)และวาจา(มธุรสวาจา) ที่สะท้อนมาจากใจที่ดีงามแล้ว หรือได้ฝึกฝนมาดีแล้ว"
        อาจารย์เน้นว่า ต้องฝึกจนได้ ฝืนจนเป็น แล้วจะไม่ใช่การเสแสร้ง แกล้งทำ ความคิดของคนเราจะสะท้อนออกมาเป็นการกระทำ การกระทำซ้ำๆบ่อยๆจะกลายเป็นนิสัย นิสัยที่ติดตัวกลายเป็นบุคลิกภาพ บุคลิกภาพคือ ตัวชี้โชคชะตา และจำไว้เสมอว่า รอยยิ้ม เป็นหัวใจของการให้บริการ 
        - ภาษากาย (อวัจนภาษา) : การแต่งกาย สีหน้า สายตา ท่าทาง การนั่ง การเดิน การวางตน
        - ภาษาพูด (วัจนภาษา) : มีหลายชาติ หลายภาษา พูดอย่างสุภาพ หยาบคาย ให้กำลังใจ บั่นทอนกำลังใจ ผมขอยกคำคม คารมปราชญ์ ที่เคยได้อ่านมาว่า"ลิ้นของคน แข็งยิ่งกว่าฟัน คำพูดของคนนั้น คมและเร็วยิ่งกว่าธนู" หรือ "ปากเป็นเอก เลขเป็นโท หนังสือเป็นตรี" ดังนั้น คำพูด จึงสำคัญมากนะครับ
         ก็ได้รู้จักความหมายของงานบริการแล้วนะครับ ตอนต่อไป ผมจะเล่าให้ฟังเรื่อง ภาษาวิบัติ เป็นภาษาที่ไม่ควรใช้พูด ในงานบริการ เพราะไม่เกิดผลดี เป็นภาษาที่มืออาชีพด้านบริการเขาไม่พูดกัน ติดตามตอนต่อไปนะครับผม...

วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำอย่างไร??ให้คุณ(ลูก)เก่งภาษาอังกฤษ

By Lt.Col.Jakkrit Mora
         
         ทุกวันนี้ ต้องยอมรับนะครับว่า เป็นยุคโลกไร้พรมแดนจริงๆ การติดต่อสื่อสาร การเดินทาง ไปทั่วโลก มันสะดวกสบายไปหมด ปัจจัยสำคัญก็คือ เรามีคอมพิวเตอร์ มี Internet ไงล่ะครับ ยิ่งถ้าเรารู้ภาษาอังกฤษด้วยแล้ว ก็จะทำให้เราเข้าถึงข้อมูลต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้คนได้ทั่วทุกมุมโลกอย่างง่ายดายเลย... ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ภาษาพ่อ ภาษาแม่เรา ถูกต้องแล้วคร้าบ !!! แต่...เพราะภาษาอังกฤษ เป็นภาษาที่มีคนพูดมากที่สุด เราจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า มันมีความสำคัญอยู่ในระดับหนึ่งทีเดียว ผมมีเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้คุณหรือลูกๆเก่งภาษาอังกฤษ จากการที่ผมได้รับฟัง Talk show ของ
คุณกุลนัดดา ปัจฉิมสวัสดิ์หรือนิน่า ผู้ดำเนินรายการ English On Tour และรายการ ผู้หญิงถึงผู้หญิง ทางช่อง 3 ไงครับ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย. 53 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จ.นครนายก จัดโดยบริษัทเอกชนที่ผลิตสื่อการเรียนรายใหญ่และมีบริษัทผู้สนันสนุนอีกหลายรายครับ จัด 2 รอบ เช้า - บ่าย มีพ่อ-แม่หรือผู้ปกครองพาลูกๆไปนั่งฟังเยอะมาก คุณครูอาจารย์ก็มี งานนี้ลงทะเบียนฟรีครับ มีเกมส์ให้เด็กๆได้ร่วมสนุก ได้ความรู้ทางภาษาอังกฤษ มีขนม นมเนยแจกเด็กทุกคนที่ร่วมเล่นเกมส์ มีสื่อการเรียนมาจำหน่ายด้วย...
          OK.มาดูกันดีกว่าว่า คุณ นิน่า เธอแนะนำ เคล็ดลับเก่งภาษาอังกฤษไว้อย่างไรบ้าง??? เท่าที่จดทันหรือยังจำได้ นะครับ
          
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณ(ลูก)เก่งภาษาอังกฤษ

1. ดูหนังหรือสารคดี ที่เป็นภาษาอังกฤษ ฝึกการฟังสำเนียงเจ้าของภาษา
2. ฟังเพลงฝรั่ง ร้อง(พูด) Karaoke เพลงฝรั่ง สนุก มีเนื้อร้อง (คำศัพท์) ให้ดูด้วย
3.ฝึกส่ง SMS หรือ Chat เป็นภาษาอังกฤษ เป็นการฝึกการเขียนครับ
4.อ่านทุกอย่างที่เราชอบ เช่น นิยายภาษาอังกฤษ ขั้นตอนการทำอาหารภาษาอังกฤษ
5.ปรับสภาพแวดล้อม เช่น ทำป้ายเป็นภาษาอังกฤษ  Gate, Door,Window,Table cloth,Door knob,Wardrobe,Rug เห็นบ่อยๆ ก็จะจำได้เอง
6.ตั้งใจฝึกฝน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกเสียง ต้องรู้ว่าในคำนั้น ออกเสียงเน้นที่พยางค์ใด เพราะถ้าเน้นผิด (สำเนียงเพี้ยน) ฝรั่งจะงง ฟังไม่เข้าใจ ต้องเปิด Dict บ่อยๆ ฟังบ่อยๆ พูดเลียนเสียงบ่อยๆ
7.เพิ่มคำศัพท์ให้มากขึ้น โดยการพกสมุด สำหรับจดบันทึก ทบทวนศัพท์
8.พูดอังกฤษอย่าคิดเป็นประโยคภาษาไทยก่อน ข้อนี้สำคัญมากและต้องฝึก ต้องฝืนให้มาก เพื่อการพูดโต้ตอบที่รวดเร็ว เป็นธรรมชาติ ฝึกจนเก่งแล้ว ก็จะคล้ายกับที่เราพูดภาษาไทยนะแหละ พูดปร๋อเลย
9.ฝึกฟังและพูดเลียนเสียงอักษรเหล่านี้ให้ถูกต้อง ตัว V, Sh, Ch, Th, St
10.ศัพท์บางคำ การออกเสียง ต้องจำเป็นพิเศษ เช่น Island, Juice, Foot, Food, Fruit, Lingerie
               สรุปสั้นๆก็คือ เราต้องฝึก ฟัง พูด อ่าน เขียน เลียนสำเนียง ทำซ้ำๆบ่อยๆ ไม่ต้องกลัว เขาก็คน เราก็คน ยังไม่มีใครพูดกับฝรั่ง แล้วโดนฝรั่งกัดตาย (ฮา)
               ต่อไปนี้ เราๆท่านๆ เวลาเจอฝรั่ง คงจะไม่กลัวฝรั่งหรือไม่วิ่งหนีฝรั่งอีกต่อไปแล้วใช่มั๊ยครับ เรามา Speak English ให้ต่างชาติ Surprise มาเที่ยวเมืองไทย กันเยอะๆดีกว่า นำไปใช้ฝึกกับลูกๆ หลานๆ ก็ได้นะครับ แต่ถึงอย่างไร ก็ขออย่าได้ลืม ความเป็นชาติไทยของเรา ที่มีภาษาไทย มีวัฒนธรรมไทย อันสวยงาม ล้ำค่า หาชาติใดเสมอเหมือน ช่วยกันรักษา สืบทอดต่อๆกันไปนะครับ...
 

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ

                                                  วัณโรค ( Tuberculosis ) 
                                                                         จ.ส.อ.วรากร นิติศักดิ์  ผู้เขียน
      ผู้เขียนเคยได้ไปรับการอบรมวิชาการที่กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด สระบุรี เมื่อประมาณปี 44 โดยมีอาจารย์นายแพทย์  มงคล อังคศรีทองกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่  2 จังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้ครับ กระผมได้นำประโยชน์ในการอบรมในครั้งนี้ได้นำมาพัฒนาในการทำงานจนถึงปัจจุบัน กระผมจึงนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้ฟัง อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างกับบุคลากรทางการแพทย์ รพ.รร.จปร.นะครับ

             เชื้อวัณโรค ( Mycobacterium  tuberculosis )
      Robert Koch เป็นคนแรกที่พิสูจน์และแยกเชื้อวัณโรค เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1882  รูปร่างเป็นแท่ง ( Rod shape )  ไม่มี( Capsule )ไม่มี ( spore ) เชื้อไม่มีการเคลื่อนที่ เป็นเชื้อที่ต้องการ ออกซิเจนในการเจริญเติบโต 
        
            การแพร่กระจายและการเกิดโรค

      สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง และทางเดินอาหาร แต่ทางเดินหายใจเป็นทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญที่สุด เมื่อผู้ป่วย ไอ จาม เชื้อจะออกมากับละออง เสมหะหรือน้ำลายนั้น และทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ส่วนในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง  6  เดือน วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่ดเรื้อรังทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่ที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่บริเวณอื่นร่วมด้วย  เช่น  ต่อมน้ำเหลือง  เยื่อหุ้มสมอง  กระดูก
  
            อาการของวัณโรค

          ผู้ติดเชื้อวัณโรคปอดมักจะค่อย ๆ  ป่วยด้วยอาการของวัณโรคปอดดังต่อไปนี้
    * มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  และมีน้ำหนักลด
    * อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว  หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ  ตอนบ่าย   มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
    * มีอาการไอ  โดยระยะแรก ๆ  ไอแห้ง ๆ  มีเสมหะ  หรือไอเป็นแรมปี
    * ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ
    * ในรายที่เป็นมาก  อาจจะมีอาการหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ  หรือดำ ๆ
    * ในรายที่เป็นน้อย ๆ  อาจไม่มีอาการ  และมักตรวจพบโดยเห็นจุดในปอดบนภาพถ่ายเอกซเรย์
    * ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน  โดยไม่รู้สาเหตุ
    * ในกรณีที่เกิดในเด็ก  อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่  เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ
     
             การเก็บเสมหะ
 
        - สถานที่เก็บ ควรเป็นที่โล่งแจ้งมีแสงแดดส่องถึงถ้าเก็บภานในอาคารต้องมีอากาศที่ถ่ายเท ไม่อับ
        - ตลับที่ใช้เก็บ ควรเป็นพลาสติกมีปากกว้าง มีฝาเกลียวปิดให้สนิท
        - ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาแล้วให้ผู้ป่วย ไอ ขาก ก่อนทำธุระอื่น
        - ลักษณะเสมหะควรเป็นเมือก เป็นยวง ขุ่นข้น มีสีปนเหลืองหรือปนเขียว ไม่ใช้น้ำลาย
 
            การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
        - ป้ายเสมหะที่เป็นเนื้อเสมหะลงบนแผ่นสไลด์ กระจายให้กว้าง
        - ตากแห้ง แล้วนำไป Fix ด้วยไฟ
        - แล้วนำไปย้อมด้วยวิธี Kinyoun staining
        - เมื่อย้อมสีเสร็จแล้ว ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
   
             การรายงานผล
     
จำนวนที่เห็น                            การรายงาน           จำนวน fields ที่ดู
0 bacilli/100 oil fields                No AFB seen                 200
1-9 bacilli/100 oil fields      1-9 AFB per 100 fields          100
10-99 bacilli /100 fields                AFB 1+                     100
1-9 bacilli / oil fields                    AFB 2+                       50
>100 bacilli / oil fields                 AFB 3+                       20

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตรวจยาบ้าทหารใหม่

โครงการ ศตส.ทบ.   
   โดย...จ.ส.อ.วีระชาติ  ชูวงษ์ตระกูล

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาบ้า ผมคิดว่า มีท่านผู้อ่านหลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบว่า กองทัพบกของเราก็มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาบ้านี้เช่นกัน 
 "โครงการ ศตส.ทบ." หรือโครงการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด กองทัพบก
ผมขอแนะนำโครงการฯ ให้ทราบโดยสังเขปดังนี้ครับ
  สรุปสาระสำคัญและขั้นตอนการดำเนินการ
        มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในหลายพื้นที่ทำให้มีผู้เสพเพิ่มขึ้น    
    -  เพื่อเป็นการป้องปรามทหารกองประจำการ ข้าราชการและกำลังพล ตลอดจน บุตร หลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
                    วัตถุประสงค์
-  ต้องการให้ทหารกองประจำการ และข้าราชการ ตลอดผู้ที่พักอาศัยในพื้นที่ รร.จปร.ไม่เข้าไปยุ่ง
   เกี่ยวกับยาเสพติด
             ขั้นตอนในการดำเนินการ
- เมื่อทหารใหม่มารายงานตัวเข้ากองประจำการ ให้เก็บปัสสาวะส่งตรวจทันที  เพราะถ้าทหารไปยุ่ง
           เกี่ยวกับยาเสพติด ก่อนที่จะมารายงานตัวเข้ากองประจำการ ๒ ๓ วัน  จะทำให้ได้ผลการตรวจที่ เป็นจริง  ก่อนที่สารเสพติด    จะ ถูกขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ โดย เริ่มจากให้ขวดที่เตรียมไว้ เขียนลำดับที่ชื่อ  -สกุล สังกัด แล้วส่งปัสสาวะไปพร้อมกับรายชื่อ สำหรับรายชื่อให้เป็นชุดเดียวกันกับที่ทหารใหม่ เขียนติดไว้ที่ขวด เพื่อจะทำให้ง่ายกับหน่วยที่ทำการตรวจ และเช็คยอดแยกเป็นหน่วยว่ามี  ยอดส่งตรวจ ปัสสาวะ จำนวนกี่นาย  ขาดส่งกี่นายแยกตามหน่วย  เพื่อทางหน่วยที่ทำการตรวจ
           จะได้ตรวจสอบยอดกับ  หน่วยที่ส่งตรวจ เพื่อความถูกต้อง
                                                                  ผลสำเร็จของงาน
    - เป็นการป้องปรามผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อมีการลาพักบ้าน
         เพราะทหารกองประจำการ กลับมาถึงหน่วยต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ทุกครั้ง ทุกนาย ดังจะดูได้จาก
        สถิติที่ได้เก็บจาก ผลัด ๑/๕๐ ผลัด ๒/๕๒ ก่อนการฝึกและ หลังการฝึก   รวม ๖ ผลัด อัตราการเพิ่มขึ้น หรือ
        ลดลง อาจเป็นตัวบอกถึงความเข้มงวด ของภาครัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการปราบปราม การตรวจจับของ
        เจ้าหน้าที่  ตลอดจนสภาพความวุ่นวายของบ้านเมืองในปัจจุบัน
             
ตารางสถิติการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ก่อน - หลังการฝึก
ตั้งแต่ผลัด ๑/๕๐ ผลัด ๒/๕๒ ระยะเวลา (พฤษภาคม ๕๐ กุมภาพันธ์ ๕๓ )
ลำดับ
ผลัดที่
ก่อนการฝึก
หลังการฝึก
ยอดส่ง
จำนวนส่ง
ปัสสาวะสีม่วง
พบยาบ้า
ยอดส่ง
จำนวนส่ง
ปัสสาวะสีม่วง
พบยาบ้า
ผลสำเร็จของงาน
๑.
๑/๕๐
๒๘๔
๒๘๔
๒๑๘
๒๑๘
๑๐๐%
๒.
๒/๕๐
๒๗๐
๒๗๐
๑๙๐
๑๙๐
๑๐๐%
๓.
๑/๕๑
๒๗๖
๒๗๖
๒๐๖
๒๐๖
๑๐๐%
๔.
๒/๕๑
๒๗๕
๒๗๕
๑๓
๒๐๒
๒๐๒
๑๐๐%
๕.
๑/๕๒
๒๙๔
๒๙๔
๒๑๐
๒๑๐
๑๐๐%
๖.
๒/๕๒
๒๘๖
๒๘๖
๒๐๕
๒๐๕
๑๐๐%

                                     การนำไปใช้ประโยชน์
        ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
    - ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะต้องมีการประสานงานติดต่อกับหน่วยงานอื่น
     - เพื่อจะช่วยไม่ให้ ทหารกองประจำการ ข้าราชการ และกำลังพล ที่พักอาศัยในพื้นที่ของ รร.จปร.
       ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด      และเป็นการช่วยลดอาชญากรรม การลัก - ขโมย ตามบ้านพัก
                                                 ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา /อุปสรรค
       ความยุ่งยาก
-          ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการเก็บปัสสาวะของทหารใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
   (ปัสสาวะ)  เพราะทหารที่เข้า ประจำการมีจำนวนมาก  ถ้าไม่ทำตามขั้นตอนที่วางไว้จะทำให้เกิดความสับสน
   และหน่วยที่ทำการตรวจจะ ทำงานได้ลำบากในการตรวจสอบความถูกต้อง
      ปัญหา
  เก็บปัสสาวะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ เช่น มีลำดับหมายเลข- มีชื่อ แต่ไม่มีนามสกุล
  และ สังกัด และไม่มีการเช็คยอดมาให้ก่อนนำส่ง
       อุปสรรค
    - พื้นฐานความรู้ของทหารใหม่ไม่เท่ากัน ทำให้การทำความเข้าใจไม่เหมือนกัน
                                                                          ข้อเสนอแนะ
   -  มีการจัดทำเอกสาร แนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจให้กับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการปฎิบัติ
   - ให้มีการชี้แจงผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการเก็บปัสสาวะ  มีการประชุมหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันและยึดถือ เป็น
   ข้อกำหนดไม่ว่าใครจะมาปฏิบัติหน้าที่นี้ ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ตกลงกันไว้  ถ้าครั้ง ต่อไปมีการสุ่มตรวจ 
    ในช่วงที่ทาง หน่วยเห็นว่า มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด  อาจจะทำการตรวจโดยไม่มีการบอกล่วงหน้า
    จะทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ทำการควบคุม  การเก็บปัสสาวะ และผู้ที่ทำการ ตรวจ  สำหรับ 
     เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจต้องมีการติดตามข่าวสาร ว่าปัจจุบันมีวิธีไหนที่ผู้เสพ มีวิธีหลบการตรวจพบสารเสพติด 
   ในร่างกายหรือมีวิธีไหนที่ทำให้ผลการตรวจเป็นปกติ ทั้งที่ความจริง ผู้นั้นมีพฤติกรรมยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
   มาก่อนหน้านี้เพราะจะทำให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้อง และเป็นการทำงานแบบมืออาชีพ
                                 
เอกสารแนะนำการเก็บปัสสาวะ เพื่อตรวจหาสารเสพติดในทหารกองประจำการ
ก่อนการฝึก และหลังการฝึก
       ๑.เตรียมขวดเก็บปัสสาวะโดยเขียน ลำดับที่ - ชื่อ - สกุล และสังกัด ที่ข้างขวด
          ( โดยใช้ปากกาเมจิกชนิดทนน้ำ Permanent )
       ๒.นำบัญชีรายชื่อส่งมากับปัสสาวะ ระบุผู้ที่ขาดหรือมารายงานตัวเพิ่มด้วย
          ( ลำดับที่ข้างขวดปัสสาวะต้องตรงกับลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ )
       ๓.นำขวดปัสสาวะและบัญชีรายชื่อ ใส่ภาชนะโดยแยกตามหน่วย แล้วนำส่งแผนกพยาธิวิทยา
       รพ.รร.จปร.
       ๔.ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน อีกครั้ง ก่อนนำส่ง

- ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ -
( แผนกพยาธิวิทยา รพ.รร.จปร. )
๐๓๗ ๓๙๓ ๐๑๐   ต่อ  ๖๒๕๒๕ - ๖