วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การวินิจฉัยวัณโรคทางห้องปฏิบัติการ

                                                  วัณโรค ( Tuberculosis ) 
                                                                         จ.ส.อ.วรากร นิติศักดิ์  ผู้เขียน
      ผู้เขียนเคยได้ไปรับการอบรมวิชาการที่กองวัณโรค กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัด สระบุรี เมื่อประมาณปี 44 โดยมีอาจารย์นายแพทย์  มงคล อังคศรีทองกุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่  2 จังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้ครับ กระผมได้นำประโยชน์ในการอบรมในครั้งนี้ได้นำมาพัฒนาในการทำงานจนถึงปัจจุบัน กระผมจึงนำเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ มาเล่าให้ฟัง อาจจะนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้างกับบุคลากรทางการแพทย์ รพ.รร.จปร.นะครับ

             เชื้อวัณโรค ( Mycobacterium  tuberculosis )
      Robert Koch เป็นคนแรกที่พิสูจน์และแยกเชื้อวัณโรค เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1882  รูปร่างเป็นแท่ง ( Rod shape )  ไม่มี( Capsule )ไม่มี ( spore ) เชื้อไม่มีการเคลื่อนที่ เป็นเชื้อที่ต้องการ ออกซิเจนในการเจริญเติบโต 
        
            การแพร่กระจายและการเกิดโรค

      สามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง เช่น ทางเดินหายใจ ทางผิวหนัง และทางเดินอาหาร แต่ทางเดินหายใจเป็นทางที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายที่สำคัญที่สุด เมื่อผู้ป่วย ไอ จาม เชื้อจะออกมากับละออง เสมหะหรือน้ำลายนั้น และทำให้เชื้อกระจายในอากาศ ส่วนในห้องที่ทึบอับแสง เชื้อวัณโรคจะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 1 สัปดาห์ ถ้าเสมหะที่มีเชื้อลงสู่พื้นที่ไม่มีแสงแดดส่อง เชื้ออาจอยู่ได้ในเสมหะแห้งได้นานถึง  6  เดือน วัณโรคเป็นโรคที่ติดต่ดเรื้อรังทำให้มีการอักเสบในปอด ซึ่งในผู้ใหญ่มักจะพบส่วนใหญ่ที่ปอด ในเด็กอาจเป็นที่บริเวณอื่นร่วมด้วย  เช่น  ต่อมน้ำเหลือง  เยื่อหุ้มสมอง  กระดูก
  
            อาการของวัณโรค

          ผู้ติดเชื้อวัณโรคปอดมักจะค่อย ๆ  ป่วยด้วยอาการของวัณโรคปอดดังต่อไปนี้
    * มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร  และมีน้ำหนักลด
    * อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว  หรือเป็นไข้ต่ำ ๆ  ตอนบ่าย   มีเหงื่อออกตอนกลางคืน
    * มีอาการไอ  โดยระยะแรก ๆ  ไอแห้ง ๆ  มีเสมหะ  หรือไอเป็นแรมปี
    * ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ
    * ในรายที่เป็นมาก  อาจจะมีอาการหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดง ๆ  หรือดำ ๆ
    * ในรายที่เป็นน้อย ๆ  อาจไม่มีอาการ  และมักตรวจพบโดยเห็นจุดในปอดบนภาพถ่ายเอกซเรย์
    * ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน  โดยไม่รู้สาเหตุ
    * ในกรณีที่เกิดในเด็ก  อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่  เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ
     
             การเก็บเสมหะ
 
        - สถานที่เก็บ ควรเป็นที่โล่งแจ้งมีแสงแดดส่องถึงถ้าเก็บภานในอาคารต้องมีอากาศที่ถ่ายเท ไม่อับ
        - ตลับที่ใช้เก็บ ควรเป็นพลาสติกมีปากกว้าง มีฝาเกลียวปิดให้สนิท
        - ผู้ป่วยตื่นขึ้นมาแล้วให้ผู้ป่วย ไอ ขาก ก่อนทำธุระอื่น
        - ลักษณะเสมหะควรเป็นเมือก เป็นยวง ขุ่นข้น มีสีปนเหลืองหรือปนเขียว ไม่ใช้น้ำลาย
 
            การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
        - ป้ายเสมหะที่เป็นเนื้อเสมหะลงบนแผ่นสไลด์ กระจายให้กว้าง
        - ตากแห้ง แล้วนำไป Fix ด้วยไฟ
        - แล้วนำไปย้อมด้วยวิธี Kinyoun staining
        - เมื่อย้อมสีเสร็จแล้ว ดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
   
             การรายงานผล
     
จำนวนที่เห็น                            การรายงาน           จำนวน fields ที่ดู
0 bacilli/100 oil fields                No AFB seen                 200
1-9 bacilli/100 oil fields      1-9 AFB per 100 fields          100
10-99 bacilli /100 fields                AFB 1+                     100
1-9 bacilli / oil fields                    AFB 2+                       50
>100 bacilli / oil fields                 AFB 3+                       20

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตรวจยาบ้าทหารใหม่

โครงการ ศตส.ทบ.   
   โดย...จ.ส.อ.วีระชาติ  ชูวงษ์ตระกูล

ปัญหายาเสพติด เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาบ้า ผมคิดว่า มีท่านผู้อ่านหลายคนที่อาจจะยังไม่ทราบว่า กองทัพบกของเราก็มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาบ้านี้เช่นกัน 
 "โครงการ ศตส.ทบ." หรือโครงการ ศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด กองทัพบก
ผมขอแนะนำโครงการฯ ให้ทราบโดยสังเขปดังนี้ครับ
  สรุปสาระสำคัญและขั้นตอนการดำเนินการ
        มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด ในหลายพื้นที่ทำให้มีผู้เสพเพิ่มขึ้น    
    -  เพื่อเป็นการป้องปรามทหารกองประจำการ ข้าราชการและกำลังพล ตลอดจน บุตร หลานไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
                    วัตถุประสงค์
-  ต้องการให้ทหารกองประจำการ และข้าราชการ ตลอดผู้ที่พักอาศัยในพื้นที่ รร.จปร.ไม่เข้าไปยุ่ง
   เกี่ยวกับยาเสพติด
             ขั้นตอนในการดำเนินการ
- เมื่อทหารใหม่มารายงานตัวเข้ากองประจำการ ให้เก็บปัสสาวะส่งตรวจทันที  เพราะถ้าทหารไปยุ่ง
           เกี่ยวกับยาเสพติด ก่อนที่จะมารายงานตัวเข้ากองประจำการ ๒ ๓ วัน  จะทำให้ได้ผลการตรวจที่ เป็นจริง  ก่อนที่สารเสพติด    จะ ถูกขับออกไปพร้อมกับปัสสาวะ โดย เริ่มจากให้ขวดที่เตรียมไว้ เขียนลำดับที่ชื่อ  -สกุล สังกัด แล้วส่งปัสสาวะไปพร้อมกับรายชื่อ สำหรับรายชื่อให้เป็นชุดเดียวกันกับที่ทหารใหม่ เขียนติดไว้ที่ขวด เพื่อจะทำให้ง่ายกับหน่วยที่ทำการตรวจ และเช็คยอดแยกเป็นหน่วยว่ามี  ยอดส่งตรวจ ปัสสาวะ จำนวนกี่นาย  ขาดส่งกี่นายแยกตามหน่วย  เพื่อทางหน่วยที่ทำการตรวจ
           จะได้ตรวจสอบยอดกับ  หน่วยที่ส่งตรวจ เพื่อความถูกต้อง
                                                                  ผลสำเร็จของงาน
    - เป็นการป้องปรามผู้ที่มีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดเมื่อมีการลาพักบ้าน
         เพราะทหารกองประจำการ กลับมาถึงหน่วยต้องเก็บปัสสาวะส่งตรวจ ทุกครั้ง ทุกนาย ดังจะดูได้จาก
        สถิติที่ได้เก็บจาก ผลัด ๑/๕๐ ผลัด ๒/๕๒ ก่อนการฝึกและ หลังการฝึก   รวม ๖ ผลัด อัตราการเพิ่มขึ้น หรือ
        ลดลง อาจเป็นตัวบอกถึงความเข้มงวด ของภาครัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการปราบปราม การตรวจจับของ
        เจ้าหน้าที่  ตลอดจนสภาพความวุ่นวายของบ้านเมืองในปัจจุบัน
             
ตารางสถิติการตรวจสารเสพติดในปัสสาวะ ก่อน - หลังการฝึก
ตั้งแต่ผลัด ๑/๕๐ ผลัด ๒/๕๒ ระยะเวลา (พฤษภาคม ๕๐ กุมภาพันธ์ ๕๓ )
ลำดับ
ผลัดที่
ก่อนการฝึก
หลังการฝึก
ยอดส่ง
จำนวนส่ง
ปัสสาวะสีม่วง
พบยาบ้า
ยอดส่ง
จำนวนส่ง
ปัสสาวะสีม่วง
พบยาบ้า
ผลสำเร็จของงาน
๑.
๑/๕๐
๒๘๔
๒๘๔
๒๑๘
๒๑๘
๑๐๐%
๒.
๒/๕๐
๒๗๐
๒๗๐
๑๙๐
๑๙๐
๑๐๐%
๓.
๑/๕๑
๒๗๖
๒๗๖
๒๐๖
๒๐๖
๑๐๐%
๔.
๒/๕๑
๒๗๕
๒๗๕
๑๓
๒๐๒
๒๐๒
๑๐๐%
๕.
๑/๕๒
๒๙๔
๒๙๔
๒๑๐
๒๑๐
๑๐๐%
๖.
๒/๕๒
๒๘๖
๒๘๖
๒๐๕
๒๐๕
๑๐๐%

                                     การนำไปใช้ประโยชน์
        ประโยชน์ต่อหน่วยงาน
    - ได้ฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะต้องมีการประสานงานติดต่อกับหน่วยงานอื่น
     - เพื่อจะช่วยไม่ให้ ทหารกองประจำการ ข้าราชการ และกำลังพล ที่พักอาศัยในพื้นที่ของ รร.จปร.
       ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด      และเป็นการช่วยลดอาชญากรรม การลัก - ขโมย ตามบ้านพัก
                                                 ความยุ่งยากในการดำเนินการ / ปัญหา /อุปสรรค
       ความยุ่งยาก
-          ผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการเก็บปัสสาวะของทหารใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
   (ปัสสาวะ)  เพราะทหารที่เข้า ประจำการมีจำนวนมาก  ถ้าไม่ทำตามขั้นตอนที่วางไว้จะทำให้เกิดความสับสน
   และหน่วยที่ทำการตรวจจะ ทำงานได้ลำบากในการตรวจสอบความถูกต้อง
      ปัญหา
  เก็บปัสสาวะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ เช่น มีลำดับหมายเลข- มีชื่อ แต่ไม่มีนามสกุล
  และ สังกัด และไม่มีการเช็คยอดมาให้ก่อนนำส่ง
       อุปสรรค
    - พื้นฐานความรู้ของทหารใหม่ไม่เท่ากัน ทำให้การทำความเข้าใจไม่เหมือนกัน
                                                                          ข้อเสนอแนะ
   -  มีการจัดทำเอกสาร แนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจให้กับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการปฎิบัติ
   - ให้มีการชี้แจงผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมการเก็บปัสสาวะ  มีการประชุมหาแนวทางปฏิบัติร่วมกันและยึดถือ เป็น
   ข้อกำหนดไม่ว่าใครจะมาปฏิบัติหน้าที่นี้ ต้องปฏิบัติตามแนวทางที่ตกลงกันไว้  ถ้าครั้ง ต่อไปมีการสุ่มตรวจ 
    ในช่วงที่ทาง หน่วยเห็นว่า มีการแพร่ระบาดของยาเสพติด  อาจจะทำการตรวจโดยไม่มีการบอกล่วงหน้า
    จะทำให้ง่ายต่อการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่ทำการควบคุม  การเก็บปัสสาวะ และผู้ที่ทำการ ตรวจ  สำหรับ 
     เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจต้องมีการติดตามข่าวสาร ว่าปัจจุบันมีวิธีไหนที่ผู้เสพ มีวิธีหลบการตรวจพบสารเสพติด 
   ในร่างกายหรือมีวิธีไหนที่ทำให้ผลการตรวจเป็นปกติ ทั้งที่ความจริง ผู้นั้นมีพฤติกรรมยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติด
   มาก่อนหน้านี้เพราะจะทำให้ได้ผลการตรวจที่ถูกต้อง และเป็นการทำงานแบบมืออาชีพ
                                 
เอกสารแนะนำการเก็บปัสสาวะ เพื่อตรวจหาสารเสพติดในทหารกองประจำการ
ก่อนการฝึก และหลังการฝึก
       ๑.เตรียมขวดเก็บปัสสาวะโดยเขียน ลำดับที่ - ชื่อ - สกุล และสังกัด ที่ข้างขวด
          ( โดยใช้ปากกาเมจิกชนิดทนน้ำ Permanent )
       ๒.นำบัญชีรายชื่อส่งมากับปัสสาวะ ระบุผู้ที่ขาดหรือมารายงานตัวเพิ่มด้วย
          ( ลำดับที่ข้างขวดปัสสาวะต้องตรงกับลำดับที่ในบัญชีรายชื่อ )
       ๓.นำขวดปัสสาวะและบัญชีรายชื่อ ใส่ภาชนะโดยแยกตามหน่วย แล้วนำส่งแผนกพยาธิวิทยา
       รพ.รร.จปร.
       ๔.ทำการตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน อีกครั้ง ก่อนนำส่ง

- ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ -
( แผนกพยาธิวิทยา รพ.รร.จปร. )
๐๓๗ ๓๙๓ ๐๑๐   ต่อ  ๖๒๕๒๕ - ๖